ติดต่อ RSK Plus - เช่าโกดังสินค้า พระราม2 สมุทรสาคร ติดต่อให้บริการ
Line ID: RSKPLUS
เวลาทำการ RSK Plus - เช่าโกดังสินค้า พระราม2 สมุทรสาคร เวลาให้บริการ
09:00 - 18:00
จันทร์ - เสาร์

บทความเกี่ยวกับคลังสินค้า

  • จุดเด่นคลังสินค้าของ RSKPlus ที่เหนือกว่าคลังสินค้าเจ้าอื่นๆ​​​

               จุดเด่นคลังสินค้าของ RSKPlus ที่เหนือกว่าคลังสินค้าเจ้าอื่นๆคือฐานรากของอาคารโกดังที่แข็งแรง สามารถรองรับน้ำหนักได้ถึง 4-6ตัน และ ตัวอาคารคลังสินค้าสูงโปร่งลูกค้าจึงอาจเลือกที่จะติดตั้ง racking หรือชั้นวางสินค้าเพื่อเพิ่มความสูงของการจัดวางสินค้า ดังนั้นจึงใช้พื้นที่ที่น้อยลง โดยขณะที่คู่แข่งที่ราคาถูกกว่า ส่วนมากจะไม่มีการลงเสาเข็ม หรือลงในจำนวนที่น้อย โดยอาศัยแค่การบดอัดดินเดิม ในกรณีนี้สภาพพื้นอาคารอาจจะดูดีในตอนแรก แต่เมื่อผ่านการใช้งานไปซักระยะ หรือมีการวางสินค้ามากเกิน ก็จะมีการทรุดตัวเป็นจุดจุด ทำให้อาจเกิดอันตรายจากสินค้าล้มคว่ำ และต้องมีการปรับปรุงพื้นที่บ่อยครั้ง ทำให้เสียเวลาในการทำงาน

  • ข้อดีของการเลือกเช่าคลังสินค้า และ​โรงงานบริเวณถนนพระราม 2 - สมุทรสาคร

               ข้อดีของการเลือกเช่าคลังสินค้า หรือ โกดังรวมถึงโรงงานบริเวณถนนพระราม 2 - สมุทรสาคร เพราะเป็นประตูสู่เศรษฐกิจภาคใต้ แหล่งรวมอุตสาหกรรมไทย และโรงงานจำนวนมาก ตั้งอยู่ริมถนนพระราม 2 ทำเลดีเยี่ยมใกล้กับกรุงเทพชั้นใน มากกว่านิคมอุตสาหกรรมอื่นอื่น โดยอยู่ใกล้จากศูนย์กลางธุรกิจของกรุงเทพ เพียง 30 กว่ากิโลเมตร ที่สำคัญคือมีแรงงานจำนวนมากที่จะคอยรองรับการขยายตัวทางธุรกิจ

  • วิธี และ ปัจจัยในการเลือกทำเลที่ตั้งคลังสินค้า(Warehouse location Selection)

               การเลือกสถานที่ตั้งโรงงาน และโกดังสินค้า สำหรับอุตสาหกรรมนั้น นอกจากจะคำนึงสภาพทางภูมิศาสตร์ หรือทำเล ซึ่งมีผลต่อต้นทุนราคาที่ดิน รวมถึงสิ่งก่อสร้าง เพื่อการประเมินความคุ้มทุนระหว่างการลงทุนเช่า หรือซื้ออสังหาริมทรัพย์ต่างๆ แล้ว ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่จำเป็นต้องนำมาใช้ประกอบการพิจารณาตัดสินใจ ปัจจุบันนี้ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จจำนวนมาก มีปัจจัยสนับสนุนที่เหมาะสมเริ่มตั้งแต่ การวางแผนและตัดสินใจเลือกทำเลที่ตั้งโรงงานและคลังสินค้าที่ดี ซึ่งมีผลต่อความมั่นคงและการเติบโตของธุรกิจ ตัวอย่างเช่น ธุรกิจแปรรูปอาหารทะเล เราจะเห็นว่ามีการตั้งโรงงาน และ คลังสินค้า โกดังสินค้า จำนวนมาก ที่จังหวัดสมุทรสาคร มหาชัย ผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องทางการเกษตร ควรตั้งใกล้กับแหล่งวัตถุดิบเพื่อความสะดวกในการขนส่งซึ่งจะทำให้อุตสาหกรรมสามารถลดต้นทุนการขนส่ง และเวลาในการส่งมอบวัตถุดิบ ทำให้โรงงานควบคุมคุณภาพวัตถุดิบได้อีกทางหนึ่งด้วย ดังนั้น ปัจจัยที่สำคัญที่ควรคำนึงถึงเพื่อประโยชน์ของการเลือกทำเลที่ตั้งโรงงาน/คลังสินค้าให้ประสบความสำเร็จ ได้แก่ แหล่งสินค้า ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งโรงงานผลิตสินค้า ท่าเรือนำเข้า-ส่งออกสินค้า และตลาดจำหน่ายสินค้า โดยคำนึงถึงต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขนส่ง (transportation cost) และความสะดวกในการมาใช้บริการของลูกค้า เส้นทางคมนาคม ที่สะดวกเข้าถึงได้ง่าย มีโครงสร้างพื้นฐานดี สามารถใช้ขนส่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อลดต้นทุนค่าขนส่ง ซึ่งหากเป็นไปได้ควรมีทางเลือกให้การขนส่งในหลายรูปแบบ ทั้งทางน้ำ ทางราง และถนนหลัก เป็นต้น

               แหล่งแรงงาน ที่มีคุณภาพ และจำนวนเพียงพอ ทั้งในขั้นที่จัดตั้งโรงงานใหม่ หรือขยายกิจการในอนาคตด้วย เนื่องจากการดูแลรับส่ง รวมถึงที่พักแรงงาน ตลอดจนอัตราค่าแรงในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่าง นอกจากนี้ แรงงานส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ซึ่งพบว่าเกิดปัญหาต่อโรงงานอุตสาหกรรมเสมอในฤดูเก็บเกี่ยว ดังนั้น การเตรียมแรงงานที่มีคุณภาพให้เพียงพอต่อการว่าจ้าง จึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้ธุรกิจประสบความสำเร็จด้วยดี ซึ่งในปัจจุบันแรงงานต่างด้าวก็มีบทบาทสำคัญในธุรกิจการผลิตต่างๆ

               ทัศนคติของชุมชน ที่เกื้อกูลต่อการดำเนินธุรกิจบริการสาธารณะ อาทิ สถานีตำรวจ สถานีดับเพลิง สถาบันการศึกษา สถานพยาบาล เพื่อจะได้รับความสะดวกในการใช้บริการ ส่งผลให้โรงงานสามารถประหยัดต้นทุนในส่วนดังกล่าวได้สิ่งแวดล้อม ของทำเลที่ตั้งควรอยู่ในทำเลแวดล้อมที่เหมาะสม เพื่อส่งเสริมให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ต้นทุนด้านโลจิสติกส์ต่างๆ โดยต้นทุนที่ได้รับการนำมาพิจารณา ได้แก่ ต้นทุนของสิ่งอำนวยความสะดวก (Facilities) ภายในโรงงาน/คลังสินค้า ต้นทุนการถือครองสินค้าคงคลัง Inventory รวมถึงต้นทุนด้านแรงงาน และการขนส่ง โอกาสในอนาคต โดยสถานประกอบการควรคำนึงถึงความสามารถของพื้นที่ ที่สามารถรองรับการขยายตัวในอนาคตทั้งจำนวนลูกค้า ปริมาณสินค้า แรงงาน การขนส่ง ตลอดจนบริการอื่น ๆ เพิ่มขึ้นในอนาคต เพื่อรองรับการขยายตัวของกิจการดังกล่าว

    อีกทฤษฎีในการเลือกทำเลที่ตั้งของคลังสินค้า ของ Edgar M. Hoover, 1948 มี 3 ปัจจัย ที่ควรคำนึงถึง ได้แก่

    1. การเลือกทำเลที่ตั้งโรงงาน/คลังสินค้าใกล้ตลาด (Market-Positioned Strategy)
      กลยุทธ์นี้กำหนดให้จัดตั้งโรงงาน/คลังสินค้า ใกล้กับลูกค้าลำดับสุดท้าย (Final Customer) วัตถุประสงค์เพื่อการตอบสนองความพึงพอใจแก่ลูกค้า ด้วยระดับการให้บริการ (Service Level) สูง ซึ่งสิ่งที่นำมาพิจารณาควบคู่ ได้แก่ รอบเวลาในการสั่งสินค้า ปริมาณการสั่งซื้อสินค้า ลักษณะของผลิตภัณฑ์ ต้นทุนค่าขนส่ง ขนาดและจำนวนของพาหนะที่สามารถให้บริการลูกค้าในพื้นที่ที่ต้องการได้ ตัวอย่างของนำกลยุทธ์ดังกล่าวนี้ไปใช้เหมาะกับธุรกิจค้าปลีก เพื่อสามารถเพิ่มความถี่ในการให้บริการกับลูกค้า การตัดสินใจเลือกทำที่ตั้งลักษณะนี้ผู้ประกอบการจะพิจารณาจัดตั้งคลังสินค้าให้ใกล้ลูกค้าให้มากที่สุด ในทางปฏิบัติปัจจุบันทำได้ยากมาก และเชื่อว่าจะไม่มีผู้ประกอบการใดนำแนวคิดในการเลือกทำเลที่ตั้งลักษณะนี้ไปใช้พิจารณาในการเลือกทำเลที่ตั้ง ทั้งนี้เนื่องจากการตั้งคลังสินค้าใกล้ตลาดจะต้องใช้ต้นทุนคงที่ด้านที่ดิน อาคารและสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ที่อาจมีต้นทุนสูงมาก
      ปัจจุบันผู้ประกอบกิจการคลังสินค้ามีทางเลือกที่จะจัดตั้งคลังสินค้าให้อยู่ใกล้ตลาดได้โดยอาศัยสามารถตั้งคลังสินค้าบริเวณถนนบางนา-ตราด ถนนร่มเกล้า ลาดกระบัง ถนนเจ้าคุณทหาร ถนนเพชรเกษม ถนนพระรามที่ 2 รวมทั้งถนนวงแหวนรอบนอก หรือวงแหวนอุตสาหกรรม ที่เส้นทางของถนนสายนี้ใช้ชื่อว่า ถนนกาญจนาภิเษก ในขณะนี้ได้ดำเนินการแล้วเสร็จ ถนนวงแหวนอุตสาหกรรมเอื้อประโยชน์ต่อการขนส่งสินค้า ทั้งนี้เนื่องจากเป็นถนนที่ล้อมรอบกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นศูนย์กลางความเจริญของประเทศเป็น อีกทั้งยังถือว่าเป็นตลาดหลักของสินค้าเกือบทุกประเภท ปัจจุบันมีคลังสินค้า และศูนย์กระจายสินค้าไปดำเนินการจัดตั้งอยู่บริเวณถนนวงแหวนอุตสาหกรรมมากมายซึ่งสามารถกระจายสินค้าเข้าสู่กรุงเทพมหานครได้อย่างรวดเร็วรวมทั้งยังสามารถกระจายสินค้าไปสู่ภูมิภาคต่าง ๆ ได้เช่นกัน
      ทั้งนี้เนื่องจากมีถนนเชื่อมต่อถนนวงแหวนดังกล่าวครอบคลุมทุกเส้นทาง หากพอสรุปกว้าง ๆ จะพบว่า การเลือกทำเลที่ตั้งบริเวณถนนดังกล่าวข้างต้นถือว่า เป็นการเลือกทำเลที่ตั้งใกล้ตลาด นั่นเอง
    2. การเลือกทำเลที่ตั้งโรงงาน/คลังสินค้า โกดังสินค้า ใกล้แหล่งผลิต (Production-Positioned Strategy)
      กลยุทธ์นี้กำหนดให้ตั้งโรงงาน/คลังสินค้าใกล้กับแหล่งวัตถุดิบ เนื่องจากสภาพของวัตถุดิบเน่าเสีย และแปรสภาพง่าย หรือจำนวนวัตถุดิบที่เป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์หลักค่อนข้างหลากหลาย วัตถุประสงค์เพื่อลดต้นทุนค่าขนส่ง คลังสินค้าวัตถุดิบจะมีความสำคัญมากในกระบวนการเริ่มต้นของการผลิตการเลือกทำเลที่ตั้งในลักษณะนี้จะต้องอยู่ใกล้กับแหล่งวัตถุดิบให้มากที่สุดทั้งนี้เนื่องจากความต้องการวัตถุดิบมีอยู่อย่างต่อเนื่องหากอยู่ไกลจากแหล่งวัตถุดิบจะมีปัญหาด้านต้นทุนการขนส่งรวมทั้งการควบคุมปริมาณการจัดส่งที่อาจต้องส่งคราวละ มาก ๆ ทำให้ผู้ผลิตต้องแบกรับภาระต้นทุนวัตถุดิบ และต้นทุนในการดำเนินการคลังสินค้า ตัวอย่างเช่น ธุรกิจแปรรูปอาหารทะเล เราจะเห็นว่ามีการตั้งโรงงาน และ คลังสินค้า โกดังสินค้า จำนวนมาก ที่จังหวัดสมุทรสาคร มหาชัย เนื่องจาก จังหวัดสมุทรสาครมีท่าเรือประมงและมีคนงานจำนวนมากรองรับการเติบโตทางธุรกิจ
    3. การเลือกทำเลที่ตั้งโรงงาน/คลังสินค้าทำเลที่ตั้งอยู่ระหว่างกลาง (Intermediately-Positioned Strategy)
      กลยุทธ์นี้กำหนดให้ตั้งโรงงาน/คลังสินค้า ระหว่างแหล่งผลิตและตลาด ซึ่งกลยุทธ์ดังกล่าวนี้ เหมาะสำหรับธุรกิจที่ต้องการให้บริการลูกค้าในระดับสูงและมีโรงงานผลิตหลายแห่ง ในกรณีที่ผู้ประกอบการเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจการผลิตสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งจำเป็นต้องจัดตั้งคลังสินค้าเอกชนขึ้นเพื่อรองรับปริมาณวัตถุดิบที่เตรียมป้อนเข้าสู่กระบวนการผลิต จนเป็นสินค้าสำเร็จเพื่อรอการจำหน่าย ดังนี้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องเลือกทำเลที่ตั้งให้สอดคล้องกับแหล่งวัตถุดิบและแหล่งตลาดในคราวเดียวกัน ซึ่งหากทำได้จะเป็นวิธีการในการลดต้นทุนได้ทั้งต้นทุนการขนส่ง ต้นทุนในการบริการลูกค้า แต่วิธีการเลือกทำเลที่ตั้งในลักษณะนี้มีข้อจำกัด คือ ต้นทุนค่าที่ดิน จะสูงมากเพราะอาจต้องเลือกทำเลที่ตั้งในเมือง ตัวอย่าง ทำเลที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมบางชัน ถ.เสรีไทย (สุขาภิบาล 2) ใกล้เขตมีนบุรี ที่มีอุตสาหกรรมหลักที่มีชื่อเสียงหลายแห่งไปตั้งอยู่จะใกล้กับโรงงาน(แหล่งผลิต)และใกล้ตลาดในคราวเดียวกัน